วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

ว่านหางจระเข้

ประวัติความเป็นมาของว่านหางจระเข้


ว่านมหัศจรรย์
ว่านหางจระเข้เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม ( Lilium ) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชานฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปอาฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมัน
คำว่า ” อะโล” ( Aloe ) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า “Allal” มีความหมายว่า ฝาดหรือขม ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย และทุกวันนี้ทั่วโลกกำลังเกิดกระแสนิยมว่านหางจระเข้กันเป็นการใหญ่
นับเป็นหลายศตวรรษที่หลายประเทศรู้จักใช้ว่านหางจระเข้รักษาโรคต่างๆมากมาย เนื่องจากมีคุณวิเศษในการรักษาแผลไฟลวก รักษาแผลทั่วไปและระงับความเจ็บปวด รวมทั้งรักษาโรคเรื้อนกวาง ในกรณีของโรคเรื้อนกวางนี้ ถ้าใช้สม่ำเสมอจะลดการตกสะเก็ดและอาการคัน รวมทั้งช่วยให้แผลดูดีขึ้น จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ของอียิปต์ โรมัน กรีก แอลจีเรีย ตูนีเซีย อาหรับ อินเดียและจีน มีการรายงานใช้พืชนี้เป็นทั้งยาและเครื่องสำอาง แม้แต่พระนางคลีโอพัตราก็รักษาความงามและความมีเสน่ห์ของพระองค์ด้วยวุ้นของว่านหางจระเข้
ก่อนคริสต์ศักราช 1500 ( หรือ 1000 ปีก่อนพุทธศักราช ) มีรายงานของชาวอียิปต์ที่ถือว่าเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดกล่าวถึงสรรพคุณมากมายของว่านหางจระเข้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการรู้จักใช้พืชชนิดนี้มาเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว ในตำราสมุนไพรที่มีชื่อของกรีกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1 รายงานถึงวิธีการใช้ว่านหางจระเข้ในการรักษาโรคต่างๆอย่างละเอียดพิสดาร ตั้งแต่รักษาบาดแผล โรคนอนไม่หลับ กระเพาะอาหารทำงานไม่ปกติ ท้องผูก ริดสีดวงทวาร อาการคันที่ผิวหนัง ปวดหัว ผมร่วง โรคเหงือกและฟัน โรคไต ผิวหนังพอง ผิวถูกแดดเผา ผิวด่างดำ ช่วยบำรุงผิวหนัง ระงับอาการปวดและอื่นๆ
นักประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า อริสโตเติ้ลได้กราบบังคมทูลให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยึดเกาะโซโครโต ซึ่งอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันออกของแอฟริกา เพื่อเอาว่านหางจระเข้มาไว้ใช้สำหรับรักษาบาดแผลของทหารที่ออกสู้รบ นอกจากนี้ บันทึกสมัยโบราณฉบับอื่นๆก็บรรยายถึงการใช้ว่านหางจระเข้บำรุงผิว ป้องกันผิวจากแดดเผา ถูกลมเป่า ถูกไฟลวก และผิวแตกเมื่อถูกความเย็น รักษาบาดแผลเล็กๆน้อยๆ แก้แมลงสัตว์กัดต่อย แผลถลอก แผลน้ำร้อนลวก แผลมีดบาด ผื่นคัน สิว ผิวหนังเป็นด่างดำ ผิวหนังถูกใบตำแยหรือแพ้สารต่างๆ แผลชอนทะลุ คันคอเนื่องจากกินอาหารผิด แผลเรื้อรัง ผื่นปวดแสบปวดร้อน และโรคผิวหนังอื่นๆ ในคัมภีร์ไบเบิล ( จอห์น 19: 39 ) มีบันทึกไว้ว่า ยาชโลมพระศพพระเยซูมีส่วนผสมของว่านหางจระเข้อยู่ด้วย
ประเภท 
    ว่านหางจระเข้ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้มีกว่า  300  ชนิด  แต่ในจำนวนนี้มีอยู่ไม่กี่ชนิดที่ใช้รักษาโรคให้ผลชะงัด  ซึ่งได้แก่  ว่านหางจระเข้เขียว  แหล่งดั้งเดิมมาจากอาฟริกา  ว่านหางจระเข้แหลมกู๊ดโฮป  และว่านหางจระเข้ไบรา  (  BEIRA  )  เป็นต้น
     ว่านหางจระเข้ยืนต้นที่มีชื่อทางวิชาการว่า  อะโล  อาบะเร็สซินส์  (  ALOE  ARBORESCENS  )  เป็นว่านหางจระเข้ที่มีความสูงราว  2  เมตร  ซึ่งต่างจากว่านหางจระเข้ทั่วไปที่ปลูกในกระถาง  ลำต้นของว่านหางจระเข้ชนิดนี้มีใบขนาดใหญ่สีเขียวแก่ที่อิ่มอวบชุ่มชื้น  มีปลูกทางตอนใต้ของไต้หวัน  ชาวบ้านในแถบนี้รู้จักใช้ว่านหางจระเข้ทำเป็นยาพื้นบ้านมาช้านานแล้ว  โดยใช้เป็นยาทาและยารับประทาน  และปัจจุบันก็ยังคงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
        ว่านหางจระเข้ที่ปลูกในสหรัฐอเมริกา  และแถบทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้นั้น  เป็นว่านหางจระเข้ไบรา  ว่านหางจระเข้ชนิดนี้โดยส่วนใหญ่แล้วนิยมใช้มาแปรสภาพเป็นน้ำว่านหางจระเข้  ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเป็นเครื่องสำอาง
     ว่านหางจระเข้ที่มีอยู่ในหมู่เกาะฮาวายกับหมู่เกาะซามัวร์  ก็เป็นว่านหางจระเข้ที่ผู้คนนำมาใช้เป็นยา พื้นบ้านอย่างกว้างขวาง

สรรพคุณว่านหางจระเข้
ว่านหางจระเข้

          ว่านหางจระเข้นั้น จัดเป็นพืชที่มีสรรพคุณต่าง ๆ มากมาย สามารถใช้บรรเทาโรคทั้งภายนอกและภายในร่างกาย อีกทั้งยังใช้บำรุงผิวพรรณได้อีกด้วย ดังนี้

ประโยชน์ภายนอก

          1. รักษาแผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก โดยปอกเปลือกนอก นำวุ้นสดภายในใบไปล้างยางออกให้สะอาด แล้วนำไปประคบแผลตลอด 2 วันแรก จะช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน สมานแผลให้เร็วขึ้น และไม่ทิ้งร่องรอยแผลเป็นอีกด้วย

          2. ป้องกันและบรรเทารอยไหม้จากการออกแดด นำใบสด ๆ ของว่านหางจระเข้ผสมกับโลชั่นทาลงบนผิวหนังก่อนออกแดด จะช่วยป้องกันแสงแดดได้ แต่ถ้าหากเกิดรอยไหม้ขึ้นบนผิวหนังหลังออกแดดแล้ว ให้ใช้วุ้นที่ล้างสะอาดมาทาเพื่อลดอาการอักเสบ ถ้าจะให้ดีลองผสมกับน้ำมันพืช หรือน้ำมันมะกอก เพื่อลดอาการผิวแห้งตึงจนเกินไป

          3. บรรเทารอยไหม้จากการฉายรังสีของผู้ป่วย โดยใช้วิธีการนำวุ้นว่านหางจระเข้ที่ล้างสะอาดมาประคบที่รอยไหม้จากการทำคีโม จะช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน และทำให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น

          4. สมานแผลจากของมีคมและแผลถลอก หากได้รับบาดเจ็บจากของมีคม ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้ที่ยังมีเมือกอยู่ แปะลงไปบนแผล จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสมานแผลให้เร็วขึ้นได้

          5. รักษาฝีและโรคริดสีดวงทวาร ทำความสะอาดบริเวณที่เกิดโรคให้แห้งแล้วนำวุ้นไปแปะลงบนแผล หากเป็นที่ทวารหนักให้ปอกวุ้นให้เป็นแท่งแล้วล้างให้สะอาด นำไปแช่เย็นให้แข็ง เพื่อสอดเหน็บในช่องทวารหนักวันละ 1-2 ครั้ง อาการริดสีดวงจะดีขึ้น

          6. รักษาตาปลาและฮ่องกงฟุต นำเนื้อวุ้นที่ล้างทำความสะอาดแล้ว ไปแปะลงบริเวณที่เกิดโรค หมั่นเปลี่ยนเนื้อวุ้นบ่อย ๆ โดยหากเป็นตาปลาส่วนที่แห้งลงจะเกิดรูบุ๋มขึ้น ให้ใช้ว่านหางจระเข้ประคบต่อไปจนกว่ารอยบุ๋มจะสมานและเล็กลง ส่วนฮ่องกงฟุตให้ประคบด้วยว่านหางจระเข้เอาไว้จนกว่าแผลจะแห้งลงและอาการดีขึ้น

          7. แก้ปวดศีรษะ ตัดใบสดจากต้นว่านหางจระเข้ แล้วนำปูนแดงทาบริเวณวุ้น ถือใบสดแล้วนำวุ้นผสมปูนแดงประคบบริเวณขมับหรือท้ายทอย ตามจุดที่ปวด จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้

          8. บรรเทาอาการปวดฟัน ตัดเนื้อว่านหางจระเข้ออกเป็นแท่งเล็ก ๆ ประมาณ 2-3 เซนติเมตร นำไปเหน็บไว้ตามซอกฟันที่มีอาการปวด หรือประคบไว้ก็ได้ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที อาการปวดจะค่อย ๆ บรรเทาลง



ว่านหางจระเข้มีดีอย่างไร?



อ้างอิง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น