วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

เที่ยวเชียงใหม่ เช้า-เย็นกลับ ( One day trip )

  
     เริ่มจากการจอตั๋วเครื่องบินควรเป็นไฟล์ตอนเช้า เนื่องจากเราไปเช้าเย็นกลับจะได้ไม่เสียเวลาเที่ยว


ถึงสนามบินเวลาตี 5.30 น. เครื่องเวลา 7.45 น. ถึงเชียงใหม่เวลา 9.00 น. โดยประมาณ 

    ลงจากสนามบนสถานที่แรกที่เราจะไปก็คือ ดอยอินทนนท์ สถานที่ยอดฮิตที่คนไปเชียงใหม่ทุกคนต้องไปสัมผัสบรรยากาศบนดอย โดยมีระยะทางไกลมากจากตัวเมือง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัด ดอยอินทนนท์ 


     ดอยอินทนนท์เดิมมีชื่อว่า “ดอยหลวง” หรือ “ดอยอ่างกา” ดอยหลวง หมายถึงภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่า ดอยอ่างกานั้น มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก 300 เมตร มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่างน้ำแต่ก่อนนี้มีฝูงกา ไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา ต่อมาจึงรวมเรียกว่า ดอยอ่างกา ดอยอินทนนท์ นี้เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัยซึ่ง พาดผ่านจากประเทศเนปาล ภูฐาน พม่า และมาสิ้นสุดที่นี่ สิ่งที่น่าสนใจของดอยนี้ไม่เพียงแต่เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศ ด้วยความสูง 2,565 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางเท่านั้น แต่สภาพภูมิประเทศและสภาพป่าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นป่าดงดิบ ป่าสน ป่าเบญจพรรณ และอากาศที่หนาวเย็นตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในฤดูหนาวจะมีหมอกปกคลุมเกือบทั้งวันและบางครั้งน้ำค้าง ยังกลายเป็นน้ำค้างแข็ง หรือ แม่คะนิ้ง สิ่งต่าง ๆเหล่านี้เป็นเสน่ห์ดึงดูดให้มีผู้มาเยือนที่นี่อย่างไม่ขาดสาย


หลังจากนั้นก็ลงจากดอย และเดินทางไปเที่ยวสถานี่ใกล้ตัวเมืองก็ คือ 
สวนพฤกษศาตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
มีระยะทางหางจากตัวเมืองเชียงใหม่ 27 กม.
10 ที่เที่ยวใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่ (สำหรับคนพักในเมือง-เช้าออกเที่ยวแบบวันเดียวทริป)ที่เที่ยวเชียงใหม่,ใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่,บ้านนาเลา,ดอยหลวงเชียงดาว,เชียงดาว,ม่อนแจ่ม,สวนพฤกษศาตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์,ม่อนแจ่ม,แม่ริม,พระธาตุดอยสุเทพ,ขุนช่างเคี่ยน,ตัวเมืองเชียงใหม่,บ้านแม่กำปอง,เดอะไจแอนท์,ร้านกาแฟบนต้นไม้,แกรนด์แคนยอน,หางดง,ผาช่อ,อช.แม่วาง,ดอยหล่อ,พระมหาธาตุนภเมทนีดล,พระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ,ดอยอินทนนท์,แม่คะนิ้ง,เที่ยวภาคเหนือ,เที่ยวฤดูหนาว,




ตอนบ่ายก็ไปต่อกันที่ ดอยม่อนแจ่ม ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 37 กม.

10 ที่เที่ยวใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่ (สำหรับคนพักในเมือง-เช้าออกเที่ยวแบบวันเดียวทริป)ที่เที่ยวเชียงใหม่,ใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่,บ้านนาเลา,ดอยหลวงเชียงดาว,เชียงดาว,ม่อนแจ่ม,สวนพฤกษศาตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์,ม่อนแจ่ม,แม่ริม,พระธาตุดอยสุเทพ,ขุนช่างเคี่ยน,ตัวเมืองเชียงใหม่,บ้านแม่กำปอง,เดอะไจแอนท์,ร้านกาแฟบนต้นไม้,แกรนด์แคนยอน,หางดง,ผาช่อ,อช.แม่วาง,ดอยหล่อ,พระมหาธาตุนภเมทนีดล,พระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ,ดอยอินทนนท์,แม่คะนิ้ง,เที่ยวภาคเหนือ,เที่ยวฤดูหนาว,

ตกเย็นก่อนกลับก็ไสถานที่ชิลๆ วิวสวยๆ ที่ แกรนด์แครนยอนหางดง ห่างจากตัวเมือง 19 กม.

10 ที่เที่ยวใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่ (สำหรับคนพักในเมือง-เช้าออกเที่ยวแบบวันเดียวทริป)ที่เที่ยวเชียงใหม่,ใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่,บ้านนาเลา,ดอยหลวงเชียงดาว,เชียงดาว,ม่อนแจ่ม,สวนพฤกษศาตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์,ม่อนแจ่ม,แม่ริม,พระธาตุดอยสุเทพ,ขุนช่างเคี่ยน,ตัวเมืองเชียงใหม่,บ้านแม่กำปอง,เดอะไจแอนท์,ร้านกาแฟบนต้นไม้,แกรนด์แคนยอน,หางดง,ผาช่อ,อช.แม่วาง,ดอยหล่อ,พระมหาธาตุนภเมทนีดล,พระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ,ดอยอินทนนท์,แม่คะนิ้ง,เที่ยวภาคเหนือ,เที่ยวฤดูหนาว,


18.00 น. เดินทางสู่สนามบินจังหวัดเชียงใหม่ เตรียมตัวกลับกรุงเทพ 
 

20.00 น. เดินทางถึงกรุงเทพโดยสวัสดิภาพ

ตัวอย่างการเที่ยวเชียงใหม่ด้วยตนเอง



อ้างอิง




แตงโม

แตงโม



แตงโม



แตงโม ชื่อสามัญ Watermelon
แตงโม ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrullus lanatus (Thunb.) Matsum. & Nakai (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Citrullus vulgaris Schrad.) จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)
แตงโม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แตงจีน (ตรัง), บะเต้า (ภาคเหนือ), บักโม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น
แตงโม เป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกาในทะเลทรายคาลาฮารี ซึ่งชาติที่แรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานนั้นก็คือชาวอียิปต์ (สี่พันกว่าปีมาแล้ว) สำหรับประเทศไทยนั้นการปลูกแตงโมจะมีอยู่ทั่วทุกภาคและปลูกได้ทุกฤดู
โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากโดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 สายพันธุ์หลัก ๆ นั่นก็คือ พันธุ์ธรรมดาทั่วไป (เมล็ดมีขนาดเล็ก รสหวาน เช่น แตงโมจินตหรา แตงโมตอร์ปิโด แตงโมกินรี แตงโมน้ำผึ้ง แตงโมไดอานา แตงโมจิ๋ว เป็นต้น) สายพันธุ์ต่อมาก็คือ พันธุ์ไร้เมล็ด (เป็นพันธุ์ผสมผลิตเพื่อส่งออก) และพันธุ์กินเมล็ด (ปลูกเพื่อนำเมล็ดมาคั่วที่เรียกกันว่า “เม็ดกวยจี๋” นั่นแหละ)
แตงโม จัดเป็นพืชในตระกูลเดียวกันกับแคนตาลูป ฟักทอง แตงกวา ซึ่งนักพฤกษศาสตร์จัดให้อยู่ในวงศ์ CUCURBITACEAE เป็นผลไม้ที่มีน้ำประกอบอยู่ในปริมาณมากจึงมีคุณสมบัติเย็น รับประทานแล้วหวานชื่นใจ สำหรับประโยชน์ของแตงโมนั้นก็เช่น ช่วยลดอาการไข้ คอแห้ง รักษาแผลในปาก เป็นต้น และยังเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพอีกด้วย เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด อย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบีรวม แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส เป็นต้น แต่สำหรับผู้ที่มีกระเพาะ ม้ามไม่แข็งแรง กระเพาะลำไส้อักเสบ หญิงหลังคลอด หลังป่วยหนัก หรือผู้ที่มีอาการปัสสาวะมากและบ่อย มีอาการท้องร่วงง่าย ไม่ควรรับประทานแตงโม
แตงโม มีสารอีกชนิดหนึ่งที่สำคัญอย่างมากนั่นก็คือ Citrulline (ซิทรูไลน์) ซึ่งจะพบสารนี้ในเปลือกมากกว่าส่วนของเนื้อ ดังนั้นการรับประทานแตงโมที่มีส่วนเปลือกขาว ๆ ติดมาด้วยก็จะเป็นประโยชน์ที่ดีมากกว่าที่จะกินแต่เนื้อสด ๆ สำหรับประโยชน์ของสารนี้ก็คือ จะช่วยขยายเส้นเลือด ดีต่อระบบภูมิคุ้มกันและยังเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนอีกด้วย เพราะมีแคลอรีต่ำมาก อย่างไรก็ตามก่อนที่เราจะผ่าแตงโมรับประทาน ควรจะล้างเปลือกให้สะอาดเสียก่อนเพื่อป้องกันสารพิษตกค้างซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เพราะแตงโมเป็นพืชที่ถูกรบกวนได้ง่ายจากแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ ชาวสวนจึงนิยมที่จะฉีดยาฆ่าแมลงเป็นปกติ
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยว่าในเนื้อและเปลือกของแตงโมมีสารออกฤทธิ์ที่ทำงานคล้ายกับไวอากรา หากบริโภคเข้าไปมาก ๆ สาร Citrulline ในแตงโมจะทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ในร่างกายทำให้เกิดกรดอะมิโนอาร์จินีนขึ้นมา ซึ่งออกฤทธิ์กระตุ้นทำให้หลอดเลือดคลายตัวและทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดดีขึ้นคล้าย ๆ กับฤทธิ์ของไวอากรา
แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญแย้งว่าแม้มันจะมีคุณสมบัติดังกล่าว แต่การที่รับประทานแตงโมเข้าไปมาก ๆ ก็คงช่วยแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศไม่ได้ เพราะน่าจะมีผลแค่ทำให้ร่างกายปัสสาวะบ่อยขึ้นเท่านั้น เพราะที่ผ่านมาแตงโมจะนำไปใช้เป็นยาขับปัสสาวะมากกว่ายารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และผลเสียที่จะตามมาก็คือ หากรับประทานแตงโมมากเกินไป น้ำตาลในผลแตงโมอาจแพร่เข้าสู่กระแสเลือดได้ ซึ่งมีผลทำให้เป็นตะคริวได้ง่ายขึ้น

ประโยชน์ของแตงโม

  1. เป็นผลไม้ที่เหมาะกับผู้ต้องการลดความอ้วนหรือควบคุมน้ำหนักอย่างมาก เพราะมีแคลอรีต่ำ
  2. ประโยชน์แตงโมช่วยในการควบคุมน้ำหนักไม่ให้น้ำหนักเกิน ป้องกันการสะสมของไขมันที่เป็นอันตรายกับร่างกาย ลดปริมาณไขมันที่จับอยู่ภายในเลือด
  3. สรรพคุณของแตงโมแตงโมมี “ไลโคปีน” (Lycopene) ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจ
  4. ช่วยบำรุงผิวพรรณและเส้นผมให้แข็งแรง เพราะประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด
  5. แตงโมมีกรดอะมิโน Citrulline ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจ
  6. แตงโมมีสารออกฤทธิ์ชนิดหนึ่งที่คล้ายกับยาแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อย่างไวอากรา ซึ่งจะออกฤทธิ์กระตุ้นให้หลอดเลือดคลายตัว ช่วยให้ระบบหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น
  7. มีส่วนช่วยบำรุงสายตา เพราะมีวิตามินเอในผลแตงโม
  8. มีส่วนช่วยล้างพิษจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปได้ด้วย
  9. ใช้รับประทานเป็นผลไม้สด ทำเป็นน้ำผลไม้ดื่มคลายร้อน ลดความร้อนในร่างกาย
  10. เปลือกหรือผลอ่อนใช้ทำเป็นอาหาร อย่างแกงส้ม เป็นต้น
  11. เปลือกที่มีสีเขียวอ่อนหรือขาวสามารถนำมารับประทานเป็นผักได้
  12. นำไปทำเป็นไวน์ได้
  13. นำไปแปรรูปเป็น แยมแตงโม เมล็ดแตงโม หรือทำเป็นสบู่แตงโมก็ได้
  14. แตงโมพอกหน้า ใช้ทำเป็นทรีตเมนต์บำรุงผิว ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว แก้ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยดูดซับความมันบนใบหน้า และลดอาการแสบแดง วิธีการง่าย ๆ เพียงแค่นำเนื้อแตงโมมาฝานบาง ๆ แล้วนำมาวางไว้บนผ้าขาวบาง จากนั้นนำมาวางปิดลงบนใบหน้าให้ทั่วทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด



แตงโมช่วยบำรุงผิวกายได้
  • ประโยชน์ของแตงโม สุดยอดผลไม้สีแดง ที่มีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย


 นอกจากเอาแตงโมมาทานเพื่อให้ประโยชน์แก่ร่างกายแล้ว แตงโมยังนำไปใช้ในการบำรุงผิวกายได้ ด้วยการเอาแตงโมมาพอกหน้า หรือใช้ทำทรีทเม้นท์เพื่อบำรุงผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้น แก้ปัญหาผิวแห้งกร้าน การพอกหน้าด้วยแตงโมยังช่วยดูดซับความมันบนใบหน้า และลดอาการแสบแดงที่เกิดจากผิวไหม้แดดได้อีกด้วย ส่วนวิธีการทำแตงโมพอกหน้าสามารถทำได้ง่ายๆโดย นำเนื้อแตงโมมาฝานให้เป็นแผ่นบางๆ แล้วนำเอาไปวางในผ้าขาวบาง จากนั้นจึงนำมาวางปิดลงบนใบหน้าให้ทั่ว แล้วทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นจึงล้างหน้าด้วยน้ำสะอาด ผู้ป่วยบางโรคไม่ควรทานแตงโม แตงโมเป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณมากมาย แต่ก็ผู้ป่วยบางประเภทที่ไม่ควรทานแตงโม อันได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ ม้ามไม่แข็งแรง เป็นโรคกระเพาะลำไส้อักเสบ ผู้หญิงหลังคลอด คนที่เพิ่งหายจากอาการป่วยหนักๆ ผู้มีอาการท้องเสียท้องร่วง ผู้มีปัญหาปัสสาวะบ่อยและมาก เป็นต้น



ประโยชนหลายอย่างเกี่ยวกับแตงโม


      

อ้างอิง




ว่านหางจระเข้

ประวัติความเป็นมาของว่านหางจระเข้


ว่านมหัศจรรย์
ว่านหางจระเข้เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม ( Lilium ) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชานฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปอาฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมัน
คำว่า ” อะโล” ( Aloe ) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า “Allal” มีความหมายว่า ฝาดหรือขม ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย และทุกวันนี้ทั่วโลกกำลังเกิดกระแสนิยมว่านหางจระเข้กันเป็นการใหญ่
นับเป็นหลายศตวรรษที่หลายประเทศรู้จักใช้ว่านหางจระเข้รักษาโรคต่างๆมากมาย เนื่องจากมีคุณวิเศษในการรักษาแผลไฟลวก รักษาแผลทั่วไปและระงับความเจ็บปวด รวมทั้งรักษาโรคเรื้อนกวาง ในกรณีของโรคเรื้อนกวางนี้ ถ้าใช้สม่ำเสมอจะลดการตกสะเก็ดและอาการคัน รวมทั้งช่วยให้แผลดูดีขึ้น จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ของอียิปต์ โรมัน กรีก แอลจีเรีย ตูนีเซีย อาหรับ อินเดียและจีน มีการรายงานใช้พืชนี้เป็นทั้งยาและเครื่องสำอาง แม้แต่พระนางคลีโอพัตราก็รักษาความงามและความมีเสน่ห์ของพระองค์ด้วยวุ้นของว่านหางจระเข้
ก่อนคริสต์ศักราช 1500 ( หรือ 1000 ปีก่อนพุทธศักราช ) มีรายงานของชาวอียิปต์ที่ถือว่าเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดกล่าวถึงสรรพคุณมากมายของว่านหางจระเข้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการรู้จักใช้พืชชนิดนี้มาเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว ในตำราสมุนไพรที่มีชื่อของกรีกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1 รายงานถึงวิธีการใช้ว่านหางจระเข้ในการรักษาโรคต่างๆอย่างละเอียดพิสดาร ตั้งแต่รักษาบาดแผล โรคนอนไม่หลับ กระเพาะอาหารทำงานไม่ปกติ ท้องผูก ริดสีดวงทวาร อาการคันที่ผิวหนัง ปวดหัว ผมร่วง โรคเหงือกและฟัน โรคไต ผิวหนังพอง ผิวถูกแดดเผา ผิวด่างดำ ช่วยบำรุงผิวหนัง ระงับอาการปวดและอื่นๆ
นักประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า อริสโตเติ้ลได้กราบบังคมทูลให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยึดเกาะโซโครโต ซึ่งอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันออกของแอฟริกา เพื่อเอาว่านหางจระเข้มาไว้ใช้สำหรับรักษาบาดแผลของทหารที่ออกสู้รบ นอกจากนี้ บันทึกสมัยโบราณฉบับอื่นๆก็บรรยายถึงการใช้ว่านหางจระเข้บำรุงผิว ป้องกันผิวจากแดดเผา ถูกลมเป่า ถูกไฟลวก และผิวแตกเมื่อถูกความเย็น รักษาบาดแผลเล็กๆน้อยๆ แก้แมลงสัตว์กัดต่อย แผลถลอก แผลน้ำร้อนลวก แผลมีดบาด ผื่นคัน สิว ผิวหนังเป็นด่างดำ ผิวหนังถูกใบตำแยหรือแพ้สารต่างๆ แผลชอนทะลุ คันคอเนื่องจากกินอาหารผิด แผลเรื้อรัง ผื่นปวดแสบปวดร้อน และโรคผิวหนังอื่นๆ ในคัมภีร์ไบเบิล ( จอห์น 19: 39 ) มีบันทึกไว้ว่า ยาชโลมพระศพพระเยซูมีส่วนผสมของว่านหางจระเข้อยู่ด้วย
ประเภท 
    ว่านหางจระเข้ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้มีกว่า  300  ชนิด  แต่ในจำนวนนี้มีอยู่ไม่กี่ชนิดที่ใช้รักษาโรคให้ผลชะงัด  ซึ่งได้แก่  ว่านหางจระเข้เขียว  แหล่งดั้งเดิมมาจากอาฟริกา  ว่านหางจระเข้แหลมกู๊ดโฮป  และว่านหางจระเข้ไบรา  (  BEIRA  )  เป็นต้น
     ว่านหางจระเข้ยืนต้นที่มีชื่อทางวิชาการว่า  อะโล  อาบะเร็สซินส์  (  ALOE  ARBORESCENS  )  เป็นว่านหางจระเข้ที่มีความสูงราว  2  เมตร  ซึ่งต่างจากว่านหางจระเข้ทั่วไปที่ปลูกในกระถาง  ลำต้นของว่านหางจระเข้ชนิดนี้มีใบขนาดใหญ่สีเขียวแก่ที่อิ่มอวบชุ่มชื้น  มีปลูกทางตอนใต้ของไต้หวัน  ชาวบ้านในแถบนี้รู้จักใช้ว่านหางจระเข้ทำเป็นยาพื้นบ้านมาช้านานแล้ว  โดยใช้เป็นยาทาและยารับประทาน  และปัจจุบันก็ยังคงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
        ว่านหางจระเข้ที่ปลูกในสหรัฐอเมริกา  และแถบทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้นั้น  เป็นว่านหางจระเข้ไบรา  ว่านหางจระเข้ชนิดนี้โดยส่วนใหญ่แล้วนิยมใช้มาแปรสภาพเป็นน้ำว่านหางจระเข้  ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเป็นเครื่องสำอาง
     ว่านหางจระเข้ที่มีอยู่ในหมู่เกาะฮาวายกับหมู่เกาะซามัวร์  ก็เป็นว่านหางจระเข้ที่ผู้คนนำมาใช้เป็นยา พื้นบ้านอย่างกว้างขวาง

สรรพคุณว่านหางจระเข้
ว่านหางจระเข้

          ว่านหางจระเข้นั้น จัดเป็นพืชที่มีสรรพคุณต่าง ๆ มากมาย สามารถใช้บรรเทาโรคทั้งภายนอกและภายในร่างกาย อีกทั้งยังใช้บำรุงผิวพรรณได้อีกด้วย ดังนี้

ประโยชน์ภายนอก

          1. รักษาแผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก โดยปอกเปลือกนอก นำวุ้นสดภายในใบไปล้างยางออกให้สะอาด แล้วนำไปประคบแผลตลอด 2 วันแรก จะช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน สมานแผลให้เร็วขึ้น และไม่ทิ้งร่องรอยแผลเป็นอีกด้วย

          2. ป้องกันและบรรเทารอยไหม้จากการออกแดด นำใบสด ๆ ของว่านหางจระเข้ผสมกับโลชั่นทาลงบนผิวหนังก่อนออกแดด จะช่วยป้องกันแสงแดดได้ แต่ถ้าหากเกิดรอยไหม้ขึ้นบนผิวหนังหลังออกแดดแล้ว ให้ใช้วุ้นที่ล้างสะอาดมาทาเพื่อลดอาการอักเสบ ถ้าจะให้ดีลองผสมกับน้ำมันพืช หรือน้ำมันมะกอก เพื่อลดอาการผิวแห้งตึงจนเกินไป

          3. บรรเทารอยไหม้จากการฉายรังสีของผู้ป่วย โดยใช้วิธีการนำวุ้นว่านหางจระเข้ที่ล้างสะอาดมาประคบที่รอยไหม้จากการทำคีโม จะช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน และทำให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น

          4. สมานแผลจากของมีคมและแผลถลอก หากได้รับบาดเจ็บจากของมีคม ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้ที่ยังมีเมือกอยู่ แปะลงไปบนแผล จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสมานแผลให้เร็วขึ้นได้

          5. รักษาฝีและโรคริดสีดวงทวาร ทำความสะอาดบริเวณที่เกิดโรคให้แห้งแล้วนำวุ้นไปแปะลงบนแผล หากเป็นที่ทวารหนักให้ปอกวุ้นให้เป็นแท่งแล้วล้างให้สะอาด นำไปแช่เย็นให้แข็ง เพื่อสอดเหน็บในช่องทวารหนักวันละ 1-2 ครั้ง อาการริดสีดวงจะดีขึ้น

          6. รักษาตาปลาและฮ่องกงฟุต นำเนื้อวุ้นที่ล้างทำความสะอาดแล้ว ไปแปะลงบริเวณที่เกิดโรค หมั่นเปลี่ยนเนื้อวุ้นบ่อย ๆ โดยหากเป็นตาปลาส่วนที่แห้งลงจะเกิดรูบุ๋มขึ้น ให้ใช้ว่านหางจระเข้ประคบต่อไปจนกว่ารอยบุ๋มจะสมานและเล็กลง ส่วนฮ่องกงฟุตให้ประคบด้วยว่านหางจระเข้เอาไว้จนกว่าแผลจะแห้งลงและอาการดีขึ้น

          7. แก้ปวดศีรษะ ตัดใบสดจากต้นว่านหางจระเข้ แล้วนำปูนแดงทาบริเวณวุ้น ถือใบสดแล้วนำวุ้นผสมปูนแดงประคบบริเวณขมับหรือท้ายทอย ตามจุดที่ปวด จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้

          8. บรรเทาอาการปวดฟัน ตัดเนื้อว่านหางจระเข้ออกเป็นแท่งเล็ก ๆ ประมาณ 2-3 เซนติเมตร นำไปเหน็บไว้ตามซอกฟันที่มีอาการปวด หรือประคบไว้ก็ได้ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที อาการปวดจะค่อย ๆ บรรเทาลง



ว่านหางจระเข้มีดีอย่างไร?



อ้างอิง



วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

ประวัติจังหวัดสุโขทัยฃ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติสุโขทัย

               จังหวัดสุโขทัย เป็นที่ตั้งอาณาจักรแรกของชนชาติไทยเมื่อ ๗๐๐ ปีที่แล้ว คำว่า "สุโขทัย" มาจากสองคำ คือ "สุข+อุทัย" หมายความว่า "รุ่งอรุณแห่งความสุข" รอยอดีตแห่งความรุ่งเรือง เห็นได้จากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ

               ประวัติสุโขทัยเริ่ม พ.ศ. ๑๘๐๐ เมื่อพระยาศรีนาวนัมถมพระบิดาพ่อขุนผาเมืองได้ปกครองเมืองสุโขทัยเรื่อยมาจนสิ้นพระชนม์ ขอมสมาดโขลญลำพงข้าหลวงจากราชอาณาจักรขอมได้เข้ายึดครองเมือง ขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมืองจ้าวเมืองราดได้ยึดเมืองคืน และสร้างเมืองสุโขทัยขึ้นเป็นราชธานี มีขุนบางกลางหาวพระนามใหม่ว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองสุโขทัย อาณาจักรแห่งแรกของประเทศไทย 

               ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้แผ่อาณาจักรออกไปกว้างขวางคลุมเขตประเทศไทยเกือบหมด บ้านเมืองเจริญทุกด้าน ไม่ว่าด้านประวัติศาตร์ ยุทธศาสตร์ กฏหมาย การปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนา และวัฒนธรรมประเพณี เฉพาะอย่างยิ่งทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖  อักษรไทยที่ทรงประดิษฐ์นี้ได้จารึกไว้ในแผ่นศิลามากมาย ศิลาจารึกเหล่านี้เป็นหลักฐานสำคัญให้รู้เรื่องเมืองสุโขทัยมากขึ้น

               ในศิลาจารึกบอกถึงความรุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่ามีอาณาเขตกว้างมาก ทิศเหนือจรดเมืองแพร่ น่านและหลวงพระบาง ทิศใต้จรดนครศรีธรรมราช ทิศตะวันออกจรดเมืองเวียงจันทร์ และทิศตะวันตกจรดเมืองหงสวดี การปกครองบ้านเมืองเป็นระบบ "พ่อปกครองลูก" ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีมีสิทธิเสรีภาพดั่งคำจารึกว่า "ไพร่ฟ้าหน้าใสในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า"

               สมัยนั้นชาวสุโขทัย ทำเกษตรกรรมเป็นหลัก อาศัยน้ำที่มีอยู่บริบูรณ์ทำนา ทำสวน ทำไร่ มีการสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำไว้ใช้หน้าแล้งเรียกว่า "ทำนบพระร่วง" ซึ่งนักโบราณคดีได้ศึกษาพบถึง ๗  แห่ง สุโขทัยเป็นศูนย์กลางค้าและการผลิตเครื่องถ้วยชามที่เรียกว่า "สังคโลก" ส่งขายยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย อินโดนิเซีย และบอร์เนียว นอกจากนั้นยังเป็นศูนย์การค้าสินค้าจากจีน เช่น ถ้วยชามและผ้าไหม เพื่อขายในประเทศและส่งต่อต่างประเทศด้วย   หลักฐานที่สะท้อนให้เห็นความเจริญมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของสุโขทัย ได้แก่ สมบัติทางวัฒนธรรมที่ได้รับการบูรณะขึ้นเป็นอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและมรดกโลกในปัจจุบัน

               ใน พ.ศ. ๑๘๙๐  กรุงศรีอยุธยา มีอำนาจมากขึ้นและเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจแทนสุโขทัย แต่สุโขทัยก็ยังมีพระมหากษัตริย์ปกครองกันติดต่อมาอีก ๒ พระองค์ จึงสิ้นพระราชวงศ์สุโขทัยและได้รวมเข้ากับราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่เมืองพม่าครั้งที่ ๒ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดให้ตั้งเมืองสุโขทัยขึ้นที่บ้านธานี(ท่าหนี) ริมแม่น้ำยมซึ่งก็คือจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน

               เมื่อวันที่ ๑  เมษายน ๒๔๗๕  ได้ยุบอำเภอธานี ตั้งใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอสุโขทัยธานีขึ้นกับจังหวัดสวรรคโลก   จนถึง   พ.ศ. ๒๔๘๒  ได้ยกอำเภอสุโขทัยธานีขึ้นเป็น จังหวัดสุโขทัยตั้งแต่นั้นมา              

               สุโขทัยในปัจจุบัน ตัวเมืองในปัจจุบันนี้มิใช่กรุงสุโขทัยอันเป็นราชธานีเดิมแต่เป็นเมืองสุโขทัย ล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรีทรงย้ายผู้คนทั้งหมดจากสุโขทัย ตั้งเมืองใหม่ทางฝั่งตะวันออกของลำน้ำยมเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๖ โดยห่างจากตัวเมืองสุโขทัยที่เคยเป็นราชธานี ๑๒ กิโลเมตร พระราชดำริในครั้งนั้นมีอยู่ว่า เมืองสุโขทัยเป็นเมืองใหม่ไม่มีผู้คนพอจะต่อสู้รักษาให้พ้นจากการรุกรานจากพม่าข้าศึกได้ เมืองสุโขทัยเคยถูกยุบเป็นอำเภอมีชื่อว่า "อำเภอธานี" ขึ้นอยู่กับอำเภอสวรรคโลก  เมื่อปี   พ.ศ. ๒๔๗๕ จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๘๒ ทางการจึงได้ยกฐานะเป็นจังหวัดดังปรากฏอยู่จนกระทั่งปัจจุบันนี้ 

               สุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของราชอาณาจักรไทย สิ่งสำคัญที่จะต้องระลึก ก็คือมหาราชพระองค์แรกของไทย ได้ถือกำเนิดขึ้น ณ สุโขทัยแห่งนี้พระองค์ทรงปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขกับได้ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล และเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุดในช่วงเวลานั้น จากร่องรอยและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ชีให้เห็นว่า ศิลปวัฒนธรรมของความเป็นไทยได้เริ่มต้น ณ แห่งนี้ วิทยาการความรู้ความสามารถ และเทคโนโลยีแขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีภาษาและหนังสือของตนเองได้บ่งบอกถึงอารยธรรมอันสูงส่งของคนไทยได้เริ่มขึ้นและวิวัฒนาการเป็นมรดกตกทอดถึงลูกหลานไทยได้สืบทอดต่อกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

               สุโขทัยจึงเป็นดินแดนแห่งความทรงจำ เป็นดินแดนแห่งความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติที่จะลืมเลือนเสียมิได้เป็นอันขาด    สุโขทัยเป็นดินแดนแห่งความทรงจำถึงอดีตกาลแห่งความภาคภูมิใจของคนไทยในความสำคัญที่
               *  เป็นราชธานีแห่งแรกของไทยและมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด 
               *  เป็นดินแดนของมหาราชองค์แรกของไทย
               *  กษัตริย์พระองค์แรกทรงผนวชในบวรพุทธศาสนา 
               *  เป็นจุดกำเนิดลายสือไทย และวรรณคดีเล่มแรกของไทย "ไตรภูมิพระร่วง" 
               *  เป็นแหล่งกำเนิดอุตสาหกรรมชิ้นแรก "ชามสังคโลก" 
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



ประวัติสุโขทัย








วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2560

ดอยอินทนนท์

     


ดอยอินทนนท์
        ถ้าจะพูดถึงสถานที่ที่นักเดินทาง ทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่น อยากจะไปสัมผัสให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต ชื่อของ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ หรือ ดอยอินทนนท์ ก็น่าจะอยู่ในลิสต์อันดับต้น ๆ เพราะไม่ว่าจะรักการเที่ยวแบบชิลล์ ๆ หรือลุย ๆ สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตแห่งนี้ ก็พร้อมต้อนรับด้วยความงดงามของธรรมชาติอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นความอุดมสมบูรณ์ของ ป่าใหญ่ดึกดำบรรพ์ (Old growth forest) สภาพอากาศที่หนาวเย็นและชุ่มฉ่ำตลอดทั้งปี ทำให้มีมอส เฟิร์นและพืชอิงอาศัย (epiphyte) ชนิดอื่น ๆ ขึ้นปกคลุมตามลำต้นอย่างหนาแน่น ใครที่เดินทางมาเที่ยวจะต้องประทับใจกับสีสันของใบไม้ป่าผลัดใบ ที่กำลังจะผลัดใบในช่วงปลายปี 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอยอินทนนท์

    อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่อยู่ในท้องที่อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม กิ่งอำเภอดอยหล่อ และอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ สามารถเข้าถึงได้โดยใช้เส้นทาง เชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ไปยังอำเภอจอมทอง 50 กม. ระยะทางประมาณ 50 กม. เลี้ยวขวาตามถนนสาย จอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) ประมาณ 8 กม. ก็จะเริ่มเข้าเขตอุทยานแห่งชาติที่บริเวณน้ำตกแม่กลาง และตัดขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์เป็นระยะทางทั้งหมด 49.8 กม. ที่ทำการอุทยานแห่งชาติจะตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 31 


จากตัวเมืองเชียงใหม่ สามารถ เดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ได้ 3 เส้นทางคือ

    เส้นทางที่ 1 จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางโดยใช้เส้นทางถนนสายเชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอ หางดงและอำเภอสันป่าตอง ไปยังอำเภอจอมทอง ก่อนถึงอำเภอจอมทองประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามถนนสายจอมทอง- อินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) จะเริ่มเข้าเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่กิโลเมตรที่ 8 (น้ำตกแม่กลาง) และ ตัดขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์เป็นระยะทางทั้งหมด 49.8 กม. ... ดูแผนที่เส้นทางที่ 1 (สีเหลือง) 


   เส้นทางที่ 2 จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางตามเส้นทางถนนสานเชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทองและอำเภอฮอด จากอำเภอฮอดเดินทางต่อโดยใช้เส้นทางสายฮอด-แม่สะเรียง ฮอด (ทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอุทยานแห่งชาติออบหลวง แล้วเลี้ยวขวาต่อไปยังอำเภอแม่แจ่มโดยเส้นทางสาย ออบหลวง-แม่แจ่ม (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1088) จากอำเภอแม่แจ่มใช้เส้นทางสายแม่แจ่ม-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1192) ขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์ ที่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009 กิโลเมตรที่ 38-39) ... ดูแผนที่เส้นทางที่ 2 (สีเขียว)


      เส้นทางที่ 3 ซึ่งเป็นเส้นทางสู่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่ค่อนข้างจะลำบาก โดยทางจากจังหวัดเชียงใหม่ตามเส้นทางถนนสาย เชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอหางดง และอำเภอสันป่าตอง จากอำเภอสันป่าตอง เลี้ยวขวา ตามถนน สายสันป่าตอง - บ้านกาด-แม่วิน (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1013) แล้วต่อด้วยเส้นทาง ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1284 หรือ เส้นทาง ร.พ.ช. ผ่านบ้านขุนวาง และขึ้นสู่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) ที่กิโลเมตรที่ 31 ใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ... ดูแผนที่เส้นทางที่ 3 (สีน้ำเงิน) 

ยอดดอยอินทนนท์
จุดสิ้นสุดของทางหลวงหมายเลข 1009 เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย (2,565 เมตร) มีสภาพอากาศ หนาวเย็นตลอดปี อเป็นที่ตั้งสถานีเรดาร์ของกองทัพอากาศไทยและเป็นที่ประดิษฐานสถูปเ้จ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์สุดท้ายซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของป่าไม้และหวงแหนดอยหลวงเป็นอย่างมากต้องการที่จะ อนุรักษ์ไว้จนชั่วลูกชั่วหลาน ท่านผูกพันกับที่นี่มากจึงสั่งว่าหากสิ้นพระชนม์ไปแล้วให้แบ่งเอาอัฐิส่วนหนึ่งมาไว้ที่นี่


สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์
จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ชาวเขาเปลี่ยนอาชีพจากการปลูกฝิ่น มาเป็นเกษตรกรรม ภายในโครงการหลวงนั้นมีพรรณไม้ให้ชมหลากหลาย 
ดอยอินทนนท์และกิ่วแม่ปาน...บางมุมที่อยากให้ลองไปสัมผัสดอยอินทนนท์,เชียงใหม่,กิ่วแม่ปาน




อ้างอิง
http://travel.kapook.com/view684.html
http://www.paiduaykan.com/76_province/north/chiangmai/doiinthanon.html
http://www.chillpainai.com/scoop/3/