วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2559



กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดง


กระเจี๊ยบแดง ภาษาอังกฤษ Rosella, Jamaican sorel, Roselle, Rozelle, Sorrel, Red sorrel, Kharkade, Karkade, Vinuela, Cabitutu
กระเจี๊ยบแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa Linn. จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)
สมุนไพรกระเจี๊ยบแดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง, ส้มตะเลงเครง (ตาก), ใบส้มม่า (ระนอง), แกงแคง (เชียงใหม่), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน), แบลมีฉี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แต่เพะฉ่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ปร่างจำบู้ (ปะหล่อง), กระเจี๊ยบ, ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ), ส้มพอดี (ภาคอีสาน), กระเจี๊ยบแดง, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง), ส้มพอ ส้มพอเหมาะ เป็นต้น มีถิ่นกำเนิดในประเทศซูดาน อินเดีย มาเลเซีย และประเทศไทย โดยในประเทศไทยมีแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี อุตรดิตถ์ กาญจนบุรี และฉะเชิงเทรา

ลักษณะของกระเจี๊ยบแดง

  • ต้นกระเจี๊ยบแดง จัดเป็นไม้พุ่มมีความสูงประมาณ 50-180 เซนติเมตร มีอยู่หลายสายพันธุ์ ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด

ต้นกระเจี๊ยบแดง


  • ใบกระเจี๊ยบแดง มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีหลายลักษณะ ลักษณะคล้ายรูปฝ่ามือ 3 แฉก หรือ 5 แฉก ใบเว้าลึกหรือเรียบ หรือใบเป็นรูปรีแหลม หรือรูปเรียวแหลม ขอบใบมีจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีความกว้างและความยาวใกล้เคียงกันประมาณ 8-15 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร

ใบกระเจี๊ยบแดง

  • ดอกกระเจี๊ยบแดง ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ มีกลีบดองสีชมพูหรือสีเหลือง บริเวณกลางดอกจะมีสีเข้มกว่าคือสีม่วงแดง ดอกมีเกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ก้านดอกสั้น มีริ้วประดับเรียวยาวปลายแหลม มี 8-12 กลีบ กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยายติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้มและหักง่าย เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร

กลีบดอกกระเจี๊ยบแดง

ประโยชน์
1. กลีบเลี้ยงที่มีสีแดงเข้มรวมถึงกลีบดอกนิยมนำมาต้มทำน้ำผลไม้ที่เรียกว่า น้ำกระเจี๊ยบ ให้รสเปรี้ยว ผสมน้ำตาลเล็กน้อย ดื่ม ทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี
2. ดอกอ่อน นำมาปรุงอาหาร โดยนิยมนำส่วนดอกใส่ในอาหารจำพวกต้มยำเพื่อให้มีรสเปรี้ยว ส่วนใบอ่อน และยอดอ่อนนำมาปรุงอาหารลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก ใส่ในแกงต้มหรือผสมเป็นผักสลัด
3. ดอกนำมาทำขนมหรือของหวาน อาทิ แยม เยลลี่ ไอศครีม
4. สีแดงเข้มของดอก นำมาสกัดเป็นสีผสมอาหาร เครื่องดื่ม หรือสีย้อมผ้า
5. ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกระเจี๊ยบแดง อาทิ ซอสกระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบผง ไวน์กระเจี๊ยบ เป็นต้น
6. เปลือกของกระเจี๊ยบแดงสามารถลอกใช้ทำเป็นเชือกรัดของได้
7. ลำต้นสามารถใช้ทำเป็นเยื่อกระดาษสาได้
8. สารเพกตินที่พบในดอกสกัดนำไปใช้เป็นสารป้องกันการแยกตัว (emulsifier) ของน้ำมันในเครื่องสำอาง
9. เมล็ดมีน้ำมันสูง ใช้สกัดสำหรับเป็นน้ำมันประกอบอาหารที่มีกรดไลโนเลอิกสูง (linoleic acid)
10. เมล็ดใช้ผสมกับสารส้มสำหรับตกตะกอนน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม
11. เมล็ดมีรสขมใช้บดผสมในอาหารเพื่อให้ได้รสขมเล็กน้อย
12. เมล็ดที่มีรสขมเหมือนกาแฟบางประเทศนำมาตากแห้ง และบดชงดื่มแทนกาแฟ
13. ทั้งใบอ่อน ยอดอ่อน ดอก และเมล็ดใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์


ประโยชน์ของกระเจี๊ยบ ในทางยา
– ผลอ่อน สามารถรับประทานเพื่อขับพยาธิ
– น้ำกระเจี๊ยบช่วยบำรุงเลือด
– น้ำกระเจี๊ยบช่วยลดอาการไอ
– ผลกระเจี๊ยบช่วยขับปัสสวะ เป็นยาระบาย
– น้ำกระเจี๊ยบมีวิตามินซีสูง ช่วยแก้อาการเลือดออกตามไรฟัน
– น้ำกระเจี๊ยบช่วยรักษาอาการต่อมลูกหมากโต





สรรพคุณกระเจี๊ยบแดง



อ้างอิง
http://puechkaset.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%8A%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น