วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2559



กระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบแดง


กระเจี๊ยบแดง ภาษาอังกฤษ Rosella, Jamaican sorel, Roselle, Rozelle, Sorrel, Red sorrel, Kharkade, Karkade, Vinuela, Cabitutu
กระเจี๊ยบแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus sabdariffa Linn. จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)
สมุนไพรกระเจี๊ยบแดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักเก็งเค็ง, ส้มเก็งเค็ง, ส้มตะเลงเครง (ตาก), ใบส้มม่า (ระนอง), แกงแคง (เชียงใหม่), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน), แบลมีฉี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แต่เพะฉ่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ปร่างจำบู้ (ปะหล่อง), กระเจี๊ยบ, ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ), ส้มพอดี (ภาคอีสาน), กระเจี๊ยบแดง, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง), ส้มพอ ส้มพอเหมาะ เป็นต้น มีถิ่นกำเนิดในประเทศซูดาน อินเดีย มาเลเซีย และประเทศไทย โดยในประเทศไทยมีแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี อุตรดิตถ์ กาญจนบุรี และฉะเชิงเทรา

ลักษณะของกระเจี๊ยบแดง

  • ต้นกระเจี๊ยบแดง จัดเป็นไม้พุ่มมีความสูงประมาณ 50-180 เซนติเมตร มีอยู่หลายสายพันธุ์ ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด

ต้นกระเจี๊ยบแดง


  • ใบกระเจี๊ยบแดง มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีหลายลักษณะ ลักษณะคล้ายรูปฝ่ามือ 3 แฉก หรือ 5 แฉก ใบเว้าลึกหรือเรียบ หรือใบเป็นรูปรีแหลม หรือรูปเรียวแหลม ขอบใบมีจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีความกว้างและความยาวใกล้เคียงกันประมาณ 8-15 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร

ใบกระเจี๊ยบแดง

  • ดอกกระเจี๊ยบแดง ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ มีกลีบดองสีชมพูหรือสีเหลือง บริเวณกลางดอกจะมีสีเข้มกว่าคือสีม่วงแดง ดอกมีเกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ก้านดอกสั้น มีริ้วประดับเรียวยาวปลายแหลม มี 8-12 กลีบ กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยายติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้มและหักง่าย เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร

กลีบดอกกระเจี๊ยบแดง

ประโยชน์
1. กลีบเลี้ยงที่มีสีแดงเข้มรวมถึงกลีบดอกนิยมนำมาต้มทำน้ำผลไม้ที่เรียกว่า น้ำกระเจี๊ยบ ให้รสเปรี้ยว ผสมน้ำตาลเล็กน้อย ดื่ม ทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี
2. ดอกอ่อน นำมาปรุงอาหาร โดยนิยมนำส่วนดอกใส่ในอาหารจำพวกต้มยำเพื่อให้มีรสเปรี้ยว ส่วนใบอ่อน และยอดอ่อนนำมาปรุงอาหารลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก ใส่ในแกงต้มหรือผสมเป็นผักสลัด
3. ดอกนำมาทำขนมหรือของหวาน อาทิ แยม เยลลี่ ไอศครีม
4. สีแดงเข้มของดอก นำมาสกัดเป็นสีผสมอาหาร เครื่องดื่ม หรือสีย้อมผ้า
5. ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกระเจี๊ยบแดง อาทิ ซอสกระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบผง ไวน์กระเจี๊ยบ เป็นต้น
6. เปลือกของกระเจี๊ยบแดงสามารถลอกใช้ทำเป็นเชือกรัดของได้
7. ลำต้นสามารถใช้ทำเป็นเยื่อกระดาษสาได้
8. สารเพกตินที่พบในดอกสกัดนำไปใช้เป็นสารป้องกันการแยกตัว (emulsifier) ของน้ำมันในเครื่องสำอาง
9. เมล็ดมีน้ำมันสูง ใช้สกัดสำหรับเป็นน้ำมันประกอบอาหารที่มีกรดไลโนเลอิกสูง (linoleic acid)
10. เมล็ดใช้ผสมกับสารส้มสำหรับตกตะกอนน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม
11. เมล็ดมีรสขมใช้บดผสมในอาหารเพื่อให้ได้รสขมเล็กน้อย
12. เมล็ดที่มีรสขมเหมือนกาแฟบางประเทศนำมาตากแห้ง และบดชงดื่มแทนกาแฟ
13. ทั้งใบอ่อน ยอดอ่อน ดอก และเมล็ดใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์


ประโยชน์ของกระเจี๊ยบ ในทางยา
– ผลอ่อน สามารถรับประทานเพื่อขับพยาธิ
– น้ำกระเจี๊ยบช่วยบำรุงเลือด
– น้ำกระเจี๊ยบช่วยลดอาการไอ
– ผลกระเจี๊ยบช่วยขับปัสสวะ เป็นยาระบาย
– น้ำกระเจี๊ยบมีวิตามินซีสูง ช่วยแก้อาการเลือดออกตามไรฟัน
– น้ำกระเจี๊ยบช่วยรักษาอาการต่อมลูกหมากโต





สรรพคุณกระเจี๊ยบแดง



อ้างอิง
http://puechkaset.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%8A%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87/

วันต่อต้านยาเสพติดโลก 26 มิถุนายนของทุกปี

วันต่อต้านยาเสพติดโลก 26 มิถุนายนของทุกปี ประวัติความเป็นมา

       ผลจากปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติทั่วโลก เพื่อเน้นถึงความสำคัญของการต่อสู้กับปัญหาการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบค้ายาเสพติดและเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศทั่วโลกใน การต่อสู้กับปัญหายาเสพติด ที่ประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and llicit Trafficking I) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่าง วันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้เสนอเป็นข้อมติต่อสมัชชาใหญ่สหประชาชาติขอให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันต่อต้านยาเสพติดซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตาม ข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมเมื่อ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2530

วันต่อต้านยาเสพติดโลก 26 มิถุนายนของทุกปี



ประเด็นแรกก็คือ เวลาพูดถึงยาเสพติด คนทั่วไปมักจะนึกถึง ยาบ้าบ้าง ฝิ่นบ้าง เฮโรอีนบ้าง หรือยาเสพติดที่ร้าย ๆ ทั้งหลาย ซึ่งเครื่องเหล่านั้นความจริงก็ได้มีกล่าวถึงมาค่อนข้างเยอะแล้ว โดยทั่วไปเราก็ได้เห็นโทษเห็นภัยกันชัดเจน เหลือแต่เพียงว่า จะทำยังไง จะป้องกันไม่ให้ระบาด ไม่ให้แพร่หลายไป จำกัดขอบเขตวงให้เหลือน้อยที่สุด เป็นประเด็นหลัก จึงอยากจะฝากพวกเราเอง มาถึงแง่ที่ว่า จริง ๆ พูดถึงยาเสพติด
        มันไม่ได้มีเพียงยาเสพติดในความหมายที่คนทั่วไปเข้าใจ ยังมีอีกตั้ง 2 เรื่องที่เราต้องใส่ใจ เรื่องแรกก็คือ เหล้าบุหรี่ ทั้งเหล้าทั้งบุหรี่ แอลกอฮอร์ทั้งหลาย ความจริงมันก็คือสิ่งเสพติดนั่นเอง คนเคยสูบ คนเคยดื่ม ถึงคราวมันก็อยากจะสูบอีก อยากจะดื่มอีก มันก็ออกฤทธิ์คล้าย ๆ ยาเสพติด เพียงแต่ว่า เบากว่าหน่อย แต่เพราะว่าเบากว่าหน่อย เลยทำให้กลายเป็นสิ่งเสพติดที่ถูกกฎหมาย สามารถหาซื้อหาเสพได้ทั่วไป ผลคือคนที่สูบบุหรี่ เฉพาะในประเทศไทยมีเป็นสิบ ๆ ล้านคน คนดื่มเหล้า ดื่มเบียร์มีเป็นสิบ ๆ ล้านคน มูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจนับรวมแล้วปีนึง ประมาณซัก 2 - 3 แสนล้านบาท ทั้งเหล้าบุหรี่รวมกัน ซึ่งมากยิ่งกว่า ฝิ่น เฮโรอีน ยาบ้า รวมกันทั้งหมดเสียอีก
       เพราะฉะนั้นเราจะต้องตระหนักโทษภัยของสิ่งเสพติดอย่างอ่อนๆ ทั้งเหล้า ทั้งบุหรี่เหล่านี้ให้ดี แล้วรีบหาทางป้องกันแก้ไข อย่าดูเบาเพียงเพราะว่าเป็นยาเสพติดอย่างอ่อนๆ เพียงเพราะว่า เป็นสิ่งเสพติดที่ถูกกฎหมาย เพราะถ้าเกิดจะเอาเรื่องความถูกกฎหมายแล้วหละก็ ในบางประเทศอย่างสวิตเซอร์แลนด์ เค้าหาซื้อเฮโรอีนได้เลยนะ ไปเดินเข้าร้านขายยาซื้อเฮโรอีนมาฉีดได้เลย ถือว่าถูกกฎหมาย ถ้าประเทศไหนตีตราว่าถูกกฎหมาย เราจะถือว่าถูกต้องหรือ  หรือในยุคหนึ่ง ตุรกีบอกปลูกฝิ่นถูกกฎหมายใครก็ปลูกได้ เราจะยอมรับอย่างนั้นหรือ ในเมืองไทยยุคหนึ่งก็เคยปลูกฝิ่นได้ตามโรงฝิ่น ทำให้คนย่ำแย่กันไป เพราะฉะนั้น เรื่องถูกกฎหมายหรือไม่เป็นแค่ส่วนประกอบ แต่ประเด็นหลักที่ต้องคำนึงถึงคือว่า ฝิ่นนั้นสร้างโทษสร้างภัยให้ทั้งคนเสพแล้วก็ทอนกำลังสังคมให้อ่อนแอลงอย่างไร เมื่อรู้ว่ามีภัยก็ต้องหาทางป้องกันแก้ไขกันให้ดี อย่าดูเบา นี่ขอฝากไว้เป็นประเด็นแรก



ประเด็นที่  2 คือว่า สิ่งที่ทำให้คนเสพติด ต้องถือว่าแทบจะ 100% ทั้งโลกเลย แต่เป็นสิ่งที่เสพติดอย่างอ่อน ๆ  จริง ๆ แล้วติดข้ามภพข้ามชาติซะด้วย สิ่งนั้นก็คือ กิเลสในใจของเรานี่เอง เบญจกามคุณ 5  รูป เสียง กลิ่น รสสัมผัส ธรรมรมณ์ สิ่งนี้คนทั้งโลกได้เสพคุ้น แล้วก็ติดกันมาข้ามภพข้ามชาติ กิเลสทั้งความโลภ โลภะ โทสะ โมหะ หรือกล่าวอีกนัยยะหนึ่งคือ ราคะ โทสะ โมหะ เราก็เสพติดกันมาข้ามภพข้ามชาติ แต่มันเป็นการมัดแล้วออกฤทธิ์ให้โทษอย่างอ่อน ๆ ซึ่งถ้าเกิดไม่สังเกตหละก็ ไม่เห็นเลย พูดถึงเหล้าบุหรี่ คนส่วนใหญ่ยังพอมองเห็นโทษภัยได้ แต่กล่าวถึงเรื่องเบญจกามคุณ 5  คนในโลกที่จะรู้ว่ามันเป็นสิ่งที่ให้โทษให้ภัย ไม่รู้จะมีถึงซัก 5 เปอร์เซ็นต์หรือเปล่า หรือ 1 เปอร์เซ็นต์จะถึงหรือเปล่า ยังไม่ทราบเลย
      มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสรู้ธรรมแล้วมาสอนเรา เราจะไม่ศึกษาแล้วก็เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ตาม เพราะฉะนั้น ถ้าจะแก้สิ่งเหล่านี้หละก็ ต้องบอกว่ามันแก้ยากกว่า ลึกกว่า แต่ก็เป็นหน้าที่ของเรา เพราะมันมัดเราเอาไว้อยู่กับภพเลย ทั้งภพ 3 ตรึงอยู่ตรงนี้แล้ว ถ้าหากขจัดตรงนี้ได้เมื่อไร กิเลสหมดจากใจก็เข้าปรินิพพาน คราวนี้ถามว่าแล้วจะแก้ แก้อย่างไร จริง ๆ  ทั้ง 3 ระดับหนักสุดคือ ยาเสพติดทั่วไปที่รู้จักกัน รองลงมาก็คือเหล้าบุหรี่ หรืออ่อนสุดเลยก็คือว่า เรื่องของกิเลสจะแก้ หลักการมีอยู่เหมือนกันคือ 1 ตัวของเราแต่ละคน จะต้องรู้จักคิด คิดเป็น อันที่ 2 คือ ต้องมีกัลยาณมิตรอยู่ใกล้คนที่เค้าให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ ให้เราเองสามารถปรับปรุงแก้ไขไปสู่สิ่งที่ถูกต้องได้ ก็อยู่ตรงนี้แหละ ตัวเรากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดก็คือ คน ถ้าหาก 2 ประการนี้ได้ หนทางแก้ไขก็เห็นช่องทางสว่างไสว
      คราวนี้พอเราดูต่อ ว่าแล้วทำอย่างไรหละ เราแต่ละคนจึงจะคิดเป็น แล้วก็จับประเด็นเป็น ขณะเดียวกันทำยังไงสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา โดยเฉพาะคนที่อยู่ใกล้ตัวถึงจะเป็นกัลยาณมิตรให้กับเราได้ คนใกล้ตัวสุดก็คือครอบครัวของเรานั่นแหละ ปัจจุบันปัญหามีอยู่ว่า แม้พ่อแม่กับลูกเอง บางทีก็คุยกันไม่ค่อยจะรู้เรื่อง บอกความสนใจมันคนละอย่าง ไม่รู้จะเอาหัวข้ออะไรมาคุยกับลูก เจอหน้าทักทายเป็นไงลูก กลับมาแล้วหรอ ทำการบ้านหรือยัง สบายดีนะ มีอะไรมั้ย คุยคำสองคำเสร็จ จะให้พูดต่อยาว ๆ บางทีพ่อแม่ลูกก็ไม่รู้จะคุยอะไรกันดี พ่อแม่สนใจอย่าง ลูกก็สนใจอีกอย่าง ลูกพูดถึงสิ่งที่ตัวเองสนใจ พ่อแม่ก็คุยไม่รู้เรื่อง ไม่มีความรู้เรื่องนั้น ครั้นพ่อแม่พูดถึงเรื่องที่สนใจ ลูกก็ไม่รู้เรื่องเหมือนกัน เลยกลายเป็นช่องว่างในครอบครัว อยู่ด้วยกัน แต่ก็เหมือนต่างคนต่างอยู่ พอเป็นอย่างนี้เด็กก็ไปหาเพื่อนของเขา ซึ่งก็วัยใกล้ ๆ กัน แล้วบางทีก็พากันไปในทางที่ไม่ค่อยถูกต้อง หนักข้อไปตามลำดับ จากเหล้า จากบุหรี่ ต่อไปก็เอายาอีบ้าง ยาบ้าบ้าง หนักไปเรื่อย ๆ แล้วก็พาไปทางที่เสีย พ่อแม่เองก็กลุ่มใจแต่ไม่รู้จะแก้ยังไง
      ตรงนี้ อาตมาอยากจะขอเสนอวิธีการ ช่องทาง ซึ่งจะสามารถช่วยได้ทั้ง 2 ประเด็นเลย คือทั้งนี้ในแง่คิดของตัวเองด้วย แล้วก็สร้างเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดี สร้างความอบอุ่นในครอบครัวได้ด้วย นั่นก็คือ จานดาวธรรมเรา DMC ของเรา 





วันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2559
คำขวัญปี2559

วันต่อต้านยาเสพติด








หนังสั้นเรื่อง"หลงลืม"หนังสั้นต่อต้านยาเสพติด




อ้างอิง










วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


วัดพระแก้ว
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัดพระแก้ว

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดินสยามที่พบ ณ วัดป่าเยี้ยะ(ป่าไผ่) จ.เชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส
วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด การบูรณะครั้งใหญ่ทั้งพระอาราม มีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2425 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามในโอกาสที่มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ในรัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามอีกครั้งใน พ.ศ. 2525 เมื่อมีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานในการบูรณะ
วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่สำคัญและเป็นที่เชิดหน้าชูตาของบ้านเมือง ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ

ชื่อยักษ์ 12 ตนในวัดพระแก้ว


อ้างอิง



วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประวัติปลานิล





         ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปลานิล


ลักษณะปลานิล

            ประวัติปลานิล

       ปลานิลได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงจัดส่งปลานิลขนาดความยาว ประมาณ 9 เซนติเมตร จำนวน 50 ตัว มาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2508 ในระยะแรกได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อดินเนื้อที่ประมาณ 10 ตารางเมตร บริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อเลี้ยงมา 5 เดือนเศษ ปรากฏว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่สวนหลวงขุดบ่อขึ้นใหม่อีก 6 บ่อ มีเนื้อที่เฉลี่ยบ่อละประมาณ 70 ตารางเมตร ซึ่งในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ายพันธุ์ปลาด้วยพระองค์เอง จากบ่อเดิมไปปล่อยในบ่อใหม่ทั้ง 6 บ่อ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2508 ต่อจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมประมง จัดส่งเจ้าหน้าที่วิชาการมาตรวจสอบการเจริญเติบโตเป็นประจำทุกเดือน โดยที่ปลานิลนี้เป็นปลาจำพวกกินพืช เลี้ยงง่าย มีรสดี ออกลูกดก เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ในระยะเวลา 1 ปี จะมีน้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม และมีความยาวประมาณ 1 ฟุต จึงได้มีพระราชประสงค์ที่จะให้ปลาชนิดนี้แพร่ขยายพันธุ์ อันจะเป็นประโยชน์แก่พสกนิกรของพระองค์ต่อไป ดังนั้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2509 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า "ปลานิล"และได้พระราชทานปลานิล ขนาดยาว 3-5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว ให้แก่ กรมประมงนำไปเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ ที่แผนกทดลองและเพาะเลี้ยงภายในบริเวณเกษตรกลางบางเขนและที่สถานีประมงต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร รวม 15 แห่ง เพื่อดำเนินการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์พร้อมกัน ซึ่งเมื่อปลานิลแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้มากเพียงพอแล้ว จึงได้แจกจ่ายให้แก่ราษฎรนำไปเพาะเลี้ยงตามความต้องการต่อไป

 ลักษณะปลานิล

ปลานิลเพศผู้ อวัยวะเพศที่บริเวณใกล้กับช่องทวารจะมีลักษณะเรียวยาวยื่นออกมา ปลาเพศผู้ จะมีรูเปิด 2 รู คือ รูก้น (Anus ) และรูเปิดรวมของท่อนำน้ำเชื้อและปัสสาวะ ( Urogenital pore) สีของตัวปลาจะเข้มสดใส แถบขวางข้างลำตัวมองเห็นไม่ชัดเจน ครีบจะมีสีชมพูเข้มออกแดง และใต้คางมีสีแดง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปลานิลเพศผู้

   ปลานิลเพศเมีย อวัยวะจะมีลักษณะเป็นรูค่อนข้างใหญ่และกลม ปลาเพศเมีย จะมีรูเปิด 3 รู คือ รูก้น (Anus) รูท่อนำไข่ (Genital pore) และรูท่อปัสสาวะ (Urinary pore) อวัยวะเพศจะมีลักษณะกลมใหญ่และมีช่องเปิดเป็นขีดขวางตรงกลางของอวัยวะเพศ สีของตัวปลาซีดกว่าเพศผู้มองเห็นแถบขวาง ข้างลำตัวได้ชัดเจน ใต้คางมีสีเหลืองและขนาดของตัวปลาโดยทั่วไปจะเล็กกว่าตัวผู้



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปลานิลเพศผู้

ขอบคุณข้อมูลจาก

ประวัติปลานิล